วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

สรุป

ระบบเครือข่าย LAN
โครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network Topology) แบบ LAN
ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ LAN สารมารถออกแบบการเชื่อมต่อกันของเครื่องในเครือข่ายให้มีโครงสร้างในระดับกายภาพได้ในหลายรูปแบบซึ่งแต่ละรูปจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้
โครงสร้างแบบดาว Star Topology เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องเครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกระเทือนกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่มีข้อเสียคือ มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที
โครงสร้างแบบบัส Bus Topology เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกับถนนที่ข้อมูลจะผ่านไปมาระหว่างแต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา
โครงสร้างแบบนี้มีข้อดีที่ใช้สายน้อยและถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม
โครงสร้างแบบแหวน Ring Topology เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อๆกันไปในวงแหนวจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครวสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อยและสามารถกัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย
ที่มา : http://cptd.chandra.ac.th/

สรุป

ข้อดีของระบบ LAN
- เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในวง LAN เดี่ยวกันสามารถใช้ทรัพยากรที่มีในวง LAN ร่วมกันได้
- การขนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องต่อเครื่องในระบบทำได้รวดเร็วกว่าการขนย้ายข้อมูลด้วยแผ่นดิสเก็ต
- เป็นระบบพื้นฐานในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/LAN

สรุป

ความหมายของระบบ LAN ย่อมาจาก Local Aeia Network ซึ่งแปลได้ว่า "ระบบเครือข่ายขนาดเล็ก" ที่ต้องประกอบด้วย Server และ Client โดยจะต้องมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการและผู้ใช้โดยที่มีผู้ให้บริการซึ่งเป็น Server นั้น จะเป็นผู้ควบคุมระบบว่าจะให้การทำงานเป็นเช่นไรและในส่วนของ Server เองจะต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสถานะภาพสูง เช่นทำงานเร็ว สามารถอ้างหน่วยความจำไดมากมีระบบการประมวลผลที่ดี และจะต้องเป็นเครื่องที่จะต้องมีระยะการทำงานที่ยาวนาน เพราะว่า Server จะถูกเปิดให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ที่มา : http//www.yupparaj.ac.th/

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระบบเครือข่าย

  2. ช่องทางการสื่อสาร 
         
ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น